วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สรุปงานนำเสนอ เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด

14. การพัฒนากระบวนการคิดให้กับผู้เรียน
 

ความหมายของการคิด 
การคิด คือ กระบวนการทำงานของสมอง ที่เกิดขึ้นภายใน ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของ
สมองแต่ละซีกของมนุษย์ และเป็นความสามารถเฉพาะบุคคล (กระทรวงศึกษาธิการ,2548:9 )
ทักษะการคิด หมายถึง ความสามารถย่อย ๆ ในการคิดในลักษณะต่าง ๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบ
ของกระบวนการคิดที่ซับซ้อน (ศิริกาญจน์  โกสุมภ์  และดารณี  คำวัจนัง,2545:11 )
แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการคิด
แนวคิดกระบวนการทางปัญญาของประเวศ วะสี 
1. การสังเกต         2. การบันทึก         3. ฝึกการนำเสนอ                 4. ฝึกการฟัง          5. ฝึกปุจฉา-วิสัชนา
6. ฝึกตั้งสมมติฐาน และตั้งคำถาม      7. ฝึกการค้นหาคำตอบ        8. การวิจัย             9. การเชื่อมโยงบูรณาการ  
10. การฝึกเขียนเชิงวิชาการ   (ศิริกาญจน์  โกสุมภ์  และดารณี  คำวัจนัง,2545:17-18 )
แนวการพัฒนาการคิดตามแนวคิดของบลูม และคณะ(กระทรวงศึกษาธิการ,2548:15-16 ) ได้จำแนกการพัฒนาพฤติกรรมด้านความรู้ความคิดของคนเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. ความรู้ ความจำ    2. ความเข้าใจ     3. การนำไปใช้      4. การวิเคราะห์     5. การสังเคราะห์         6. การประเมินค่า
แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการคิด  (กระทรวงศึกษาธิการ,2548:17-18 )
1 การส่งเสริมตั้งแต่อยู่ในครรภ์          2 การจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม                 3 การใช้ชุดฝึกการคิด
4 การจัดสอนเป็นรายวิชา                   5 การจัดทำหลักสูตรระยะสั้น                            6 การบูรณาการการคิดเข้าในรายวิชา               7 การใช้รูปแบบการเรียนการสอน       8 การใช้เทคนิคต่าง ๆ ที่ส่งเสริม และพัฒนาการคิด
กระบวนการคิด  (กระทรวงศึกษาธิการ,2548:32 )
เป็นขั้นตอนการคิด  ซึ่งถ้าดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการคิดนั้นๆแล้ว จะช่วยให้บุคคลประสบการณ์ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการคิดนั้นๆ  ได้ซึ่งคิดขั้นสูงต่างๆที่สำคัญและเป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน
การคิดแบบหมวก 6 ใบ (Six thinking hats) ( สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา,2548:53 )
1. หมวกสีขาว  หมายถึง  ความคิดเกี่ยวกับตัวเลขและข้อเท็จจริงต่าง ๆ
2. หมวกสีแดง   หมายถึง  การคิดเกี่ยวกับการแสดงออกของอารมณ์ ความรู้สึก รสนิยม ความพอใจ ความประทับใจ
3. หมวกสีดำ หมายถึง  การคิดเกี่ยวกับด้านลบ โดยมีเหตุผลประกอบ
4. หมวกสีเหลือง   หมายถึง การคิดเชิงบวก การคิดมองโลกในแง่ดี        
5. หมวกสีเขียว  หมายถึง การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความคิดสิ่งใหม่ ๆ          
6. หมวกสีน้ำเงิน  หมายถึง  การคิดที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและการบริหารกระบวนการคิด
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning) ( สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา,2548:57 )
1. ระบุปัญหา         2. ระดมสมอง ฝึกการคิด และการทำงานเป็นกลุ่ม          3. เลือกแนวทางการแก้ปัญหา            4. ทดลอง               5. ประเมินผลการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT  (อ้างใน วัชรา เล่าเรียนดี,2547:87)
1. สร้างคุณค่า และประสบการณ์ของสิ่งที่เรียน              2. วิเคราะห์ประสบการณ์    3. ปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด
4. พัฒนาความคิดรวบยอด  5. ลงมือปฏิบัติจากกรอบความคิดที่กำหนด     6. สร้างชิ้นงาน เพื่อสะท้อนความเป็นตนเอง   
7. วิเคราะห์คุณค่า และประยุกต์ใช้    8. แลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้กับผู้อื่น
ผังมโนทัศน์  (Mind  mapping)  ขั้นตอนการสร้างผังมโนทัศน์  ดังนี้
1. เขียนหรือวาดภาพมโนทัศน์หลัก  ควรใช้กระดาษไม่มีเส้น และวางกระดาษในแนวนอน
2. เขียนหรือวาดภาพมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลัก 
3. เขียนหรือวาดภาพมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ
การให้คำถามเพื่อพัฒนากระบวนการคิดระดับสูง  (อ้างใน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,2548:54)
1. คำถามระดับต่ำ (Lower-level  questions) เป็นคำถามด้านความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และการนำไปใช้ที่ไม่ซับซ้อน
2. คำถามระดับสูง(Higher-level  questions) เป็นคำถามด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประมาณค่า
ลักษณะของคำถาม (อ้างใน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,2548:55)
1. คำถามปลายปิด                   2. คำถามปลายเปิด            3. คำถามที่มุ่งเน้นการให้ความสนใจ                 4. คำถามที่ต้องการมาตรวัด
5. คำถามให้เปรียบเทียบ      6. คำถามให้แสดงออก หรือกระทำ   7. คำถามเพื่อให้แก้ปัญหา      8. คำถามปฏิบัติการ