วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมวันแม่

 กิจกรรมทำบุญใส่บาตร



นักเรียนรำถวายพระพร
 รับเกียรติบัตรแม่ดีเด่น ปี ๒๕๕๕

                                                                    กิจกรรมไหว้แม่






วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชื่อสมุนไพร

 
ชื่อไทย : ปีบ
ชื่ออังกฤษ
: Cork Tree
ชื่อวิทยศาสตร์ :Millingtonia hortensis Linn.
วงศ์ : Bignoniaceae
ประโยชน์ : ขยายหลอดลม รักษาหืด
ส่วนที่ใช้ : ดอก
วิธีใช้ : โดยการสูบดอกแห้ง
สารเคมี : Compound P


(บทความจาก : ไทบ้าน )

 
  
   
ชื่อไทย : กะเพรา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum tenuiflorum Linn.
วงศ์ : (O. sanctum Linn.) LAMIACEAE
ชื่อท้องถิ่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสดหรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ใบที่สมบูรณ์เต็มที่ นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ดร้อน เป็นยาตั้งธาตุ แก้ปวดท้อง ท้องขึ้น จุกเสียด  ใช้แต่งกลิ่นแต่งรสได้
วิธีใช้ : ใช้ใบและยอดกะเพรา 1 กำมือ(ถ้าใบสดหนัก 25 กรัม แห้งหนัก 4 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเหมาะสำหรับเด็กท้องอืด หรือนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานแก้ท้องอืดได้ จำนวนยาและวิธีใช้แบบเดียวกันนี้ ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติได้
ารปลูก : ใช้เมล็ดปลูกหรือตัดกิ่งชำแต่ส่วนใหญ่นิยมใช้เมล็ดแก่เพาะ กะเพราเป็นพืชปลูกง่าย ชอบดินร่วนซุย
  
   
ชื่อไทย : เจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa Linn.
วงศ์ : Malvaceae
ชื่อท้องถิ่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว(ภาคกลาง) ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง(ภาคเหนือ) ส้มตะเลงเครง(ตาก) ส้มปู(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : กลีบเลี้ยงและริ้วประดับ
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวใช้เวลา 4 เดือน - 4 เดือนครึ่ง
รสและสรรพคุณยาไทย
: กลีบเลี้ยง ริ้วประดับและใบ มีรสเปรี้ยวใช้เป็นยากัดเสมหะ, ใช้ขับปัสสาวะ, ขับนิ่วที่เป็นด่าง
วิธีใช้ : ใช้เป็นยารักษาอาการขัดเบา โดยนำเอากลีบเลี้ยงหรือริ้วประดับสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา(หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย(250 มิลลิลิตร) ทิ้งไว้ 5-10 นาที รินเฉพาะน้ำสีแดงใสดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาจะหายไป
ารปลูก : ใช้เมล็ด กระเจี๊ยบแดงชอบอากาศร้อน ขึ้นได้ในดินทุกชนิด ในพื้นที่แห้งแล้งและมีฝนตกชุ่มชื้น แต่ไม่มีน้ำขังแช่ กระเจียบต้องการน้ำในช่วง 1 เดือนแรกเท่านั้น ต่อจากนั้นจะทนความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี เริ่มปลูกในปลายฤดูฝน คือปลายเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม และจะออกดอกในระหว่างเดือนตุลาคม-เดือนพฤศจิกายน แล้วเก็บผลที่แก่จัดไปได้เรื่อยๆจนถึงกลางเดือนธันวาคม
  
   
ชื่อไทย : ชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (Linn.) Mansf.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น : กะแอน ระแอน(เหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กทม.) จี๊ปู ซีฟู (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เป๊าซอเถ๊ะ เป๊าะสี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าและราก ทั้งสดและแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เหง้าและรากเมื่อแก่เต็มที่(อายุประมาณ 5-6 เดือน)
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ดร้อน ขม แก้ปวดมวนในท้อง แก้ชัก แก้ท้องอืดเฟ้อ และบำรุงกำลัง
วิธีใช้ : นำเหง้าและรากของกระชายประมาณครึ่งกำมือ(สดหนัก 5-10 กรัม แห้งหนัก 3-5 กรัม) ทุบพอแหลก ต้มเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือ ปรุงเป็นอาหารรับประทานารปลูก : ใช้เหง้าปลูก กระชายชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบดินเหนียวหรือดินทรายเกินไป มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบดินแฉะมีน้ำขัง ขึ้นได้ดีทั้งในที่โล่งแจ้งหรือใต้ต้นไม้ใหญ่ ฤดูที่ปลูกคือฤดูแล้งหรือต้นฤดูฝน(พฤษภาคม-มิถุนายน)
  
   
ชื่อไทย : ทือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zingiber zerumbet Smith.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น : กระทือป่า กะแวน กะแอน แสมดำ(เหนือ) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าและราก
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ในช่วงฤดูแล้ง
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสขมและขื่นเล็กน้อย ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม
วิธีใช้ : นำเหง้าสดขนาดเท่าหัวแม่มือ 2 หัว (ประมาณ 20 กรัม) ย่างไฟพอสุกตำกับน้ำปูนใส คั้นเอาน้ำดื่มเวลามีอาการารปลูก : ใช้เหง้าปลูก โดยขุดเหง้าจากดิน ตัดใบ และส่วนของลำต้นที่ขึ้นเหนือดินออก ให้เหลือประมาณ 1 คืบ เพื่อลดการสูญเสียน้ำ รดน้ำ ใช้ชุ่ม กระทือชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ปลูกได้ในทุกฤดูกาล
  
   
ชื่อไทย : เทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium sativum Linn.
วงศ์ : Alliaceae.
ชื่อท้องถิ่น : หอมเทียม(เหนือ) เทียม หัวเทียม(ใต้) กระเทียมขาว หอมขาว(อุดรธานี) ปะเซ้ว้า(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 
ส่วนที่ใช้เป็นยา : หัวใต้ดิน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บในช่วงที่มีหัวใต้ดินแก่จัด อายุ 100 วันขึ้นไป
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้กลากเกลื้อน แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร
วิธีใช้ :  :>> การใช้กระเทียมรักษากลากเกลื้อน ทำได้โดยฝานกลีบกระเทียมแล้วนำมาถูบ่อยๆ หรือคั้นเอาน้ำทาบริเวณที่เป็น โดยใช้ไม้เล็กๆ หรือไม้ไผ่ที่สะอาดขูดบริเวณที่เป็นพอให้ผิวแดงๆก่อน แล้วจึงเอาน้ำกระเทียมขยี้ทา ทาบ่อยๆ หรือวันละ 3-4 ครั้ง เมื่อหายแล้ว ทาต่ออีก 7 วัน
              :>> การใช้กระเทียมรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ใช้กระเทียมสดครั้งละประมาณ 5-7 กลีบ หลังอาหาร หรือเวลามีอาการ
ารปลูก : ใช้หัวกระเทียมแก่ปลูก นิยมปลูกยกแปลงโดยใช้หัวฝังใต้ดินเล็กน้อย กระเทียมชอบอากาศเย็น และดินร่วนซุย ปลูกได้ดีทางภาคเหนือ ช่วงเวลาปลูกหากเป็นพื้นราบปลูกในช่วงกันยายน-ตุลาคม และกุมภาพันธ์-มีนาคม ในเขตภูเขา ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน จึงเจริญเติบโตเต็มที่
  
ชื่อไทย : วานไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Amomum krervanh Pierre.
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : กระวานโพธิสัตว์ กระวานจันทร์(กลาง) กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว(กลาง, ตะวันออก)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ดแก่แห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บเมล็ดแก่ในช่วงเดือนสิงหาคม-มีนาคม
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม เป็นยา ขับลมและขับเสมหะ
ารปลูก : ปลูกโดยการแยกหน่อจากต้นแม่ ถ้ามีลำต้นติดมาให้ตัดเหลือประมาณ 1 คืบ เพื่อลดการสูญเสียน้ำ นำหน่อไปชำในดินที่ชุ่มชื้น หรือจะนำลงปลูกเลยก็ได้ กระวานขึ้นได้ดีในที่ชุ่มชื้นและเย็น โดยเฉพาะใต้ร่มเงาไม้ใหญ่
วิธีใช้
: นำเมล็ดแก่บดเป็นผงรับประทานครั้งละ 1.5 - 3 ช้อนชา (น้ำหนัก 1 - 2 กรัม) ชงกับน้ำอุ่น ช่วยขับลม นอกจากนี้เมล็ดกระวานยังใช้ผสมกับสมุนไพรที่มีฤทธิ์ขับถ่าย เช่น มะขามแขก เพื่อบรรเทาอาการไซ้ท้องที่เกิดจากมะขามแขก
  
ชื่อไทย : ล้วยน้ำว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Musa ABB group (triploid) cv."Namwaa"
วงศ์ : MUSACEAE
ชื่อท้องถิ่น : -
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลดิบหรือห่าม
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บผลกล้วยช่วงที่เปลือกยังเป็นสีเขียว ต้นกล้วยจะให้ผลในช่วงอายุ 8-12 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย
: ผลดิบ รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมานแผลในกระเพราะอาหาร
ารปลูก : นิยมใช้หน่อปลูก กล้วยชอบดินร่วนซุย ค่อนไปทางดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบน้ำขัง ควรปลูกต้นฤดูฝน โดยขุดหลุมและใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ปลูกหน่อลงกลางหลุมให้ยอดสูงกว่าระดับดินประมาณ 1-2 คืบ ส่วนตาจะอยู่ลึกในดินประมาณ 1 ฟุต กลบดินให้แน่นหมั่นพรวนดินและใส่ปุ๋ยเพื่อช่วยให้ออกผลเร็ว
วิธีใช้
: กล้วยดิบรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรง และรักษาแผลในกระเพาะ โดยใช้กล้วยน้ำว้าห่าม รับประทานครั้งละครึ่งผลถึงหนึ่งผล หรือใช้กล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดให้แห้ง หรืออบด้วยอุณหภูมิ 50 องศา( C ) บดเป็นผงชงน้ำดื่มครั้งละครึ่งผลถึงหนึ่งผล หรือบดเป็นผงปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน รับประทานแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น
  
ชื่อไทย : กานพลู
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium aromaticum (Linn.) Merr & Perry.
(Eugenia caryophyllus Bullock & Harrison)

วงศ์ : MYRTACEAE
ชื่อท้องถิ่น : จันจี (ภาคเหนือ)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอกตูมที่โตเต็มที่แล้ว
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ช่วงที่ดอกเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดง ระหว่างเดือน มิถุนายน-กุมภาพันธ์
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม แก้ท้องเสีย ขับลม แก้ปวดท้อง
ารปลูก : นิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ด มากกว่าการตอนกิ่ง  กานพลูชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง ชอบอากาศร้อน ความชื้นสูง ปลูกใกล้ทะเลจะได้ผลดีกว่า
วิธีใช้
: ดอกตูมแห้งของกานพลูรักษาอาการท้องอืดเฟ้อ แน่นจุกเสียดโดยใช้ดอกแห้ง 5-8 ดอก (0.12-0.16 กรัม) ต้มน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม นอกจากนี้ดอกกานพลูยังช่วยป้องกันไม่ให้เด็กอ่อนท้องอืดเฟ้อได้ โดยใช้ดอกแห้ง 1 ดอก แช่ไว้ในกระติกน้ำร้อนที่ใช้ชงนมให้เด็กอ่อน
  
ชื่อไทย : แก้ว
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Murraya paniculata Jack
วงศ์ : Rutaceae
ชื่อท้องถิ่น : แก้มขาว (ภาคกลาง) ตะไหลแก้ว แก้วพริก จ๊าพริก (ภาคเหนือ) แก้วขี้ไก่ (ยะลา)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ใบสดสมบูรณ์ เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย
: ในตำรายาไทย มิได้ระบุรสของใบแก้ว เมื่อขยี้ใบแก้วดมจะมีกลิ่นหอม ใบแก้วใช้ปรุงเป็นยาขับระดู และยาแก้จุกเสียด แน่นท้อง ขับลม บำรุงธาตุ
ารปลูก : ใช้การตอนกิ่ง เมื่อรากออกพอสมควร นำไปปลูกในกระถาง รอจนรากแข็งแรง สามารถหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ จึงนำไปปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุม ในระยะแรกๆ ควรรดน้ำทุกวัน ต้นแก้วสามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ยกเว้นดินทราย เพราะอุ้มน้ำไม่ดีและมีธาตุอาหารน้อย
วิธีใช้
: ใบแก้วใช้รักษาอาการปวดฟัน โดยนำใบสดตำพอแหลกแช่เหล้าโรงในอัตราส่วน 15 ใบย่อย หรือ 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร และนำเอายาที่ได้มาทาบริเวณที่ปวด
  
ชื่อไทย : ขมิ้นชัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa Linn.

วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ขมิ้น(ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว(เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น(ใต้) ตายอ(กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแห้งและสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: อายุ 9-10 เดือนจึงขุดมาใช้ได้
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสฝาด กลิ่นหอม แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
ารปลูก : ขมิ้นชอบอากาศค่อนข้างร้อนและมีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี วิธีปลูกใช้เหง้าแก่ที่อายุ 11-12 เดือน ตัดเป็นท่อนให้มีตาท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลงในหลุมลึกประมาณครึ่งคืบ หลังจากปลูก 5-7 วัน ขมิ้นจะเริ่มงอก หากฝนไม่ตกควรรดน้ำทุกวัน เมื่อปลูกได้ 7 เดือน ใบขมิ้นจะเริ่มมีสีเหลือง แสดงว่าหัวขมิ้นเริ่มแก่ ปล่อยขมิ้นไว้ในแปลงจนอายุ 9-10 เดือนจึงขุดมาใช้ได้
วิธีใช้
: 1. ขมิ้นใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการนำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด(ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอนหรือบรรจุเป็นแคปซูล  เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน
ข้อควรระวัง
รับประทานแล้วอาจมีอาการแพ้ขมิ้น เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดใช้2. ขมิ้นแก้อาการแพ้และอักเสบจากแมลงกัดต่อยหรือฝีแผลพุพองโดยนำเหง้าขมิ้นยาวประมาณ 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุกทาบริเวณที่เป็น หรือใช้ผงขมิ้นทาบริเวณที่มีอาการแพ้ คัน และอักเสบ หรือเป็นแผลพุพอง
3. แก้อาการท้องอืด ใช้ขมิ้นสดล้างให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดจัด 1-2 วัน บดให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นเม็ดขนาดปลายนิ้วก้อย ผึ่งลมให้แห้งและเก็บในขวดสะอาดมิดชิด รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 4 ครั้งหลังอาหารและก่อนนอน
  
ชื่อไทย : ข่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia nigra (Gaertn.) B. L. Burtt

วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น : ข่าตาแดง ข่าหยวก ข่าหลวง (ภาคเหนือ)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่สด หรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ช่วงที่เหง้าแก่
รสและสรรพคุณยาไทย
: เหง้าข่า รสเผ็ดปร่า ขับลม แก้บวม ฟกช้ำ เหง้าแก่นำมาตำละเอียด ใช้ทาบริเวณที่เป็นโรคกลากเกลื้อน หรือผสมเหล้าโรง ใช้ทาบริเวณที่เป็นลมพิษทาบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
ารปลูก : ใช้เหง้าหรือที่เรียกว่าแง่งข่าปลูก ข่าชอบดินโปร่งร่วนซุย ไม่มีน้ำขัง มีอาหารอุดม มีความชุ่มชื้นเหมาะสม ควรปลูกในฤดูฝนโดยขุดแง่งข่าจากกอแม่เดิม ขนาดประมาณ 4-5 นิ้ว พร้อมติดดินและรากฝังในหลุมที่ขุดไว้ หลุมละ 2-3 แง่งแต่ละหลุมห่างกัน 70 ซม. กลบดินและรดน้ำให้ชุ่ม
วิธีใช้
: 1. โรคกลากเกลื้อน เอาหัวข่าแก่ๆ ล้างให้สะอาดฝานเป็นแว่นบางๆ หรือทุบให้แตกนำไปแช่เหล้าขาวทิ้งไว้ 1 คืน ทำความสะอาดบริเวณที่เป็นและใช้ไม้บางๆ เขี่ยให้ผิวแดงๆ และใช้น้ำยาที่ได้มาทาบริเวณที่เป็น ทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
2. แก้อาการท้องอืด ใช้เหง้าแก่สดหรือแห้งขนาดเท่าหัวแม่มือทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม
 
 
ชื่อไทย : ิง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Zingiber officinale Rosc.

วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อท้องถิ่น : ขิงเผือก(เชียงใหม่) ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) สะเอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่สด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บเกี่ยวในช่วงอายุ 11-12 เดือน
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสหวานเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้เสมหะบำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน
ารปลูก : ขิงปลูกโดยใช้เหง้าแก่ ขิงชอบดินเหนียวปนทรายอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างชุ่มชื้นแต่ระบายน้ำได้ดี ไม่ชอบน้ำขัง แฉะ เพราะจะทำให้ขิงเน่า แสงแดดพอสมควร
วิธีใช้
: 1. การใช้ขิงรักษาอาการไอ มีเสมหะ ทำได้โดยใช้เหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาวหรือใช้เหง้าขิงสดตำผสมน้ำต้มสุกเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
2. แก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน เนื่องจากธาตุไม่ปกติ เมารถ เมาเรือ ให้ใช้เหง้าแก่สดขนาดเท่าหัวแม่มือ ทุบให้แตก ต้มเอาน้ำดื่ม
3. แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด เตรียมเช่นเดียวกับแก้อาการคลื่นไส้
 
ชื่อไทย : ขี้เหล็ก
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Senna siamea (Lam.) Irwin et Barneby

วงศ์ : Fabaceae
ชื่อท้องถิ่น : ขี้เหล็กบ้าน(ลำปาง) ขี้เหล็กใหญ่(ภาคกลาง)ขี้เหล็กหลวง(ภาคเหนือ) ผักจี้ลี้(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ยะหา(ปัตตานี) ขี้เหล็กจิหรี่(ภาคใต้)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบอ่อนและดอก
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ช่วงเวลาที่มีใบอ่อน และดอกขี้เหล็กออกดอกระหว่างเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม
รสและสรรพคุณยาไทย
: ดอกตูมและใบอ่อน รสขม ช่วยระบายท้อง ดอกตูม ทำให้นอนหลับ เจริญอาหาร
ารปลูก : ทำได้โดยเพาะเมล็ดขี้เหล็กในถุงเพาะหรือในแปลงเมื่อขี้เหล็กออกใบ 3-4 คู่ จึงย้ายไปปลูกในหลุมที่เตรียมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองไว้ก้นหลุมแล้วรดน้ำให้ชุ่มและบังแดดในระยะที่ต้นยังอ่อนอยู่ขี้เหล็กขึ้นได้ในดินทั่วไป ทนแล้งได้ดี เป็นไม้ที่ปลูกง่าย
วิธีใช้
: 1. ใช้ใบขี้เหล็กทั้งใบอ่อนและใบแก่ 4-5 กำมือ ต้มเอาน้ำดื่มก่อนอาหาร หรือเวลาที่อาการท้องผูก
2. ใช้ใบแห้งหนัก 30 กรัม หรือใช้ใบสด 50 กรัม ต้มเอาน้ำดื่มก่อนนอนหรือใช้ใบอ่อน ทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ไว้ 7 วัน ให้น้ำยาสม่ำเสมอทุกๆ วัน กรองกากยาออกจะได้น้ำยาดอง ขี้เหล็กและใช้ดื่ม ครั้งละ 1-2 ช้อนชาก่อนนอน
 
ชื่อไทย : ขลู่
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Pluchea indica (Linn.) Less.
วงศ์ : ASTERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : หนาดงิ้ว หนวดงั่ว หนวดวัว (อุดรธานี)
ขี้ปาน (แม่ฮ่องสอน)  คลู (ใต้)

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ใบที่เจริญเต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย
: ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แพทย์ไทยโบราณนิยมใช้ขลู่ให้ผู้ป่วยชงรับประทาน ลดอาการบวม และลดน้ำหนักตัว
ารปลูก : ใช้วิธีปักชำกิ่งขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินชื้นแฉะ และน้ำเค็มขึ้นถึง
วิธีใช้
: ใช้เป็นยาแก้อาการขัดเบา วันละ 1 กำมือ (สดหนัก 40-50 กรัม แห้งหนัก 15-20 กรัม) หั่นเป็นชิ้นๆต้มกับน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหารครั้งละ 1 ถ้วยชา (หรือ 75 มล.) ไม่ควรใช้มากเกินไป เพราะอาจทำให้เป็นตะคริวได้
 
ชื่อไทย : คูน
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Cassic fistula Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่อท้องถิ่น : ลมแล้ง(ภาคเหนือ) สักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี) ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์(ภาคกลาง) กุเพยะ(กะเหรี่ยง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ มีลักษณะเป็นเนื้อผลสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ เปียกมีกลิ่นเฉพาะ และมีรสหวานเล็กน้อย
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ถ่ายสะดวก ไม่มวน ไม่ไซ้ท้อง
ารปลูก : ใช้วิธีเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง ปลูกง่ายขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย
วิธีใช้
: เนื้อในฝักคูนแก้อาการท้องผูกโดยเอาเนื้อในฝักแก่ก้อนเท่าหัวแม่มือ(ประมาณ 4 กรัม) ต้มกับน้ำใส่เกลือนิดหน่อย ดื่มก่อนนอนหรือตอนเช้าก่อนอาหาร เหมาะเป็นยาระบายสำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำ แต่สตรีมีครรภ์ไม่ควรใช้
 
ชื่อไทย : ชุมเห็ดเทศ
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Cassia alata Linn.
วงศ์ : LEGUMINOSAE
ชื่อท้องถิ่น : ชุมเห็ดใหญ่(ภาคกลาง) ขี้คาก ลับมืนหลวง หมากกะลิงเทศ (ภาคเหนือ) ส้มเห็ด (เชียงราย) จุมเห็ด(มหาสารคาม) ตะลีพอ(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสดหรือแห้ง ดอกสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บช่วงที่พืชมีอายุ 3 เดือนขึ้นไป โดยเลือกเก็บใบชุมเห็ดเทศที่เป็นใบขนาดกลางสมบูรณ์เต็มที่(ใบเพสลาด) ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ต้องเก็บก่อนออกดอก ส่วนดอกเก็บดอกที่เจริญเต็มที่ ใบที่เก็บจากพืชอายุประมาณ 6-7 เดือนขึ้นไป จะมีปริมาณสารสำคัญอยู่ในเกณฑ์สูง ใบที่เก็บมาควรล้างให้สะอาด
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเบื่อเอียน ใช้แก้กลากเกลื้อน โรคผิวหนัง และอาการท้องผูก
ารปลูก : ใช้เมล็ดปลูกเพาะกล้าก่อน เมื่อต้นกล้า อายุ 25-35 วัน จึงย้ายกล้าไปปลูกลงในแปลงหรือลงหลุมที่เตรียมไว้หรือปลูกโดยตรงก็ได้ชุมเห็ดเทศปลูกง่ายในดินเกือบทุกชนิดโดยเฉพาะดินร่วนซุย ในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่มีน้ำตลอดทั้งปีชุมเห็ดเทศ เป็นพืชที่ชอบน้ำและดินที่ชุ่มชื้นมาก ชอบแสงแดด ไม่ชอบที่ร่มเงา
วิธีใช้

:
1. โรคกลาก ใช้ใบชุมเห็ดเทศสด ขยี้หรือตำในครกให้ละเอียด เติมน้ำเล็กน้อยหรือใช้ใบชุมเห็ดเทศกับหัวกระเทียมเท่าๆ กันผสมปูนแดงที่กินกับหมากนิดหน่อย ตำผสมกันทาบริเวณที่เป็นกลาก โดยเอาไม้ไผ่ขูดผิวให้แดงก่อน ทาบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 3-4 ครั้ง จนหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
 
: 2. อาการท้องผูกใช้ใบและดอกชุมเห็ดเทศรักษา เตรียมได้โดย
       2.1 ใช้ดอกสด 1 ช่อ ต้มรับประทานกับน้ำพริก
       2.2 นำใบย่อยสด 12 ใบ หั่นตากแห้ง นำมาต้มเอาน้ำดื่ม
       2.3 นำใบชุมเห็ดเทศแห้ง มาบดเป็นผง ใช้ผงยาครั้งละ 3-6 กรัม บรรจุในถุงกระดาษเช่นเดียวกับถุงชา นำมาแช่ละลายน้ำเดือด 120 มิลลิลิตร นาน 10 นาที และใช้ดื่มก่อนนอนเมื่อมีอาการ หรือใช้ผงยาปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนรับประทานครั้งละ 3 เม็ดก่อนนอน
: 3. ใบและก้านสด 1 กำมือ ต้มกับน้ำพอท่วมยา เคี่ยวให้เหลือ 1 ใน 3 ใช้ชะล้างฝี แผลพุพอง วันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ถ้าเป็นมากใช้ประมาณ 10 กำมือต้มน้ำอาบ
 
ชื่อไทย : ดีปลี
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Piper retrofractum Vahl
. (Syn.)
วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ดีปลีเชือก (ภาคใต้) ประดงข้อ ปานนุ(ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแก่แห้ง ผลแก่จัด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ช่วงที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก ตากแดดให้แห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ดร้อนขม บำรุงธาตุ ขับลม แก้จุกเสียด
ารปลูก : ดีปลีนิยมปลูก โดยใช้เถา ชอบดินร่วนและอุดมสมบูรณ์ ทนแล้งได้ดี และฤดูที่เหมาะสมในการปลูกคือ ฤดูฝน
วิธีใช้
: 1. เมื่อมีอาการไอ มีเสมหะ ให้ใช้ผลแก่แห้ง ของดีปลีประมาณครึ่งผล ถึงหนึ่งผลฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือกวาดคอหรือจิบบ่อยๆ
 
: 2. อาการท้องอืด ใช้ผลแก่แห้ง ประมาณ 10-15 ดอก ใส่น้ำประมาณครึ่งลิตรต้มเอาน้ำดื่ม ถ้าไม่มีดอกใช้เถาต้มแทนได้
 
ชื่อไทย : ตำลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Coccinia grandis
(Linn.) Voigt.
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ผักแคบ (ภาคเหนือ) แคเด๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ใบสดที่สมบูรณ์เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำ แก้พิษ แมลงสัตว์กัดต่อย ที่ทำให้ปวดแสบร้อนและคัน
ารปลูก : 1. โดยใช้การเพาะเมล็ด โดยเก็บเมล็ดพันธุ์จากผลตำลึงที่แก่และสุกเต็มที่ ปลูกลงในที่ๆ เตรียมไว้
2. โดยการใช้เถาแก่ปักชำ ตัดเถาแก่ของตำลึงขนาด 5-6 นิ้ว ปักในถุงเพาะชำ เมื่อรากและยอดงอกดีแล้วจึงย้ายไปปลูกในที่ๆ ต้องการ ซึ่งทั้งสองวิธีดังกล่าว เมื่อยอดงอกยาวพอสมควรจะต้องมีหลักปักให้เถาตำลึงเกาะยึด

วิธีใช้
: ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ยุงกัด ถูกตัวบุ้ง ใบตำแย แพ้ละอองข้าว โดยเอาใบสด 1 กำมือ (ใช้มากน้อยตามบริเวณที่มีอาการ) ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นน้ำจากใบเอามาทาบริเวณที่มีอาการ พอน้ำแห้งแล้วทาซ้ำบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
 
ชื่อไทย : ทับทิม
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Punica granatum
Linn.
วงศ์ : PUNICACEAE
ชื่อท้องถิ่น : พิลา (หนองคาย) พิลาขาว มะก่องแก้ว (น่าน) มะเก๊าะ (ภาคเหนือ)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เปลือกผลแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บในช่วงที่ผลแก่ ใช้เปลือกตากแดดให้แห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสฝาด เป็นยาฝาดสมาน
ารปลูก : เพาะเมล็ดให้เป็นกล้าอ่อนแล้วจึงย้ายลงหลุมที่เตรียมไว้ ทับทิมชอบดินเหนียวปนหิน หรือดินลูกรังมากกว่าดินชนิดอื่น ชอบอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ต้องการแสงแดดมาก
วิธีใช้
: เปลือกทับทิมใช้เป็นยาแก้ท้องเดินและบิด มีวิธีใช้คือใช้เปลือกผลแห้งประมาณ 1 ใน 4 ของผล ฝนกับน้ำปูนใสให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง หรือต้มกับน้ำปูนใสแล้วดื่มน้ำที่ต้มก็ได้
 
ชื่อไทย : ทองพันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Rhinacanthus nasutus (
Linn.) Kurz.
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อท้องถิ่น : หญ้ามันไก่  ทองคันชั่ง (ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด หรือราก(สดหรือแห้ง)
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บช่วงที่ใบสมบูรณ์เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย
: ใบรสเบื่อเมา เป็นยาเย็นดับพิษไข้ป่นละเอียด แช่เหล้า  7  วัน  ทาแก้กลากเกลื้อนผื่นคัน
ารปลูก : ทองพันชั่งปลูกโดยการปักชำ ขึ้นได้ในดินทั่วไป ชอบดินชุ่มชื้น ควรปลูกในฤดูฝน วิธีปลูกทำได้โดยตัดกิ่งแก่ที่มีตาติดอยู่ 2-3 ตา ปลิดใบทิ้งแล้วปักชำให้กิ่งเอียงเล็กน้อย คอยดูแลน้ำ และกำจัดวัชพืช
วิธีใช้
: ใบสดหรือรากสดหรือแห้งของทองพันชั่ง ใช้รักษากลากเกลื้อนโดยใช้ใบหรือราก (จำนวนที่ใช้อาจเพิ่มหรือลดลงได้ตามอาการ) ตำให้ละเอียด แช่เหล้าหรือแอลกอฮอล์พอท่วมยาและทิ้งไว้ 7 วัน นำมาทาบริเวณที่เป็นบ่อยๆ หรือวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าจะหาย หายแล้วทาต่ออีก 7 วัน
 
ชื่อไทย : ผักบุ้งทะเล
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Impomoea pes-caprae (Linn.) R. Br.

วงศ์ : CONVOLVULACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ละบูเลาห์ (มลายู-นราธิวาส)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบและเถาสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย
: ถอนพิษลมเพลมพัด (อาการบวมเปลี่ยนที่ไปตามอวัยวะทั่วไป) ทำเป็นยาต้มอาบแก้คันตามผิวหนัง มีการบันทึกว่ายางมีพิษ รับประทานแล้วเมา คลื่นไส้ วิงเวียน
ารปลูก : ปลูกโดยใช้การเพาะเมล็ด หรือตัดลำต้นขนาด 5-6 นิ้ว ปักชำ ผักบุ้งทะเลเจริญได้ดีบริเวณชายทะเล เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดี
วิธีใช้
: นำใบและเถาผักบุ้งทะเล 1 กำมือล้างให้สะอาด ตำให้ละเอียด (อาจใช้เหล้าโรงหรือแอลกอฮอล์ผสมด้วย) คั้นเอาน้ำทาบริเวณที่อักเสบบวมแดง จากแมลงสัตว์กัดต่อย โดยเฉพาะการอักเสบจากพิษของแมงกะพรุน
 
ชื่อไทย : เทียนบ้าน
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Impatiens balsamina Linn.

วงศ์ : BALSAMINACEAE
ชื่อท้องถิ่น : เทียนดอก เทียนไทย เทียนสวน (ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบและดอกสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บใบและดอกที่เจริญเต็มที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
รสและสรรพคุณยาไทย
: ส่วนใหญ่หมอจีนใช้ใบของเทียนดอกขาวตำพอกเล็บขบและปวดตามนิ้วมือ นิ้วเท้า ถอนพิษปวดแสบ ปวดร้อน
ารปลูก : ใช้การเพาะเมล็ดแก่ โดยหยอดเมล็ดลงในดินลึก 2-3 ซม. กลบดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม เมื่อต้นที่ยาวงอกแล้วให้ถอนต้นที่ไม่แข็งแรงออก เหลือไว้เพียง 1-2 ต้น กรณีปลูกเป็นไม้ประดับ นิยมหว่านเมล็ดบริเวณที่ต้องการ
วิธีใช้
: ใช้ใบสดและดอกสดประมาณ 1 กำมือ ตำละเอียด พอกฝี หรือคั้น น้ำทาบริเวณที่เป็นฝีและแผลพุพองวันละ 3 ครั้ง (สีจากน้ำคั้นจะติดอยู่นาน จึงควรระวังการเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าและร่างกายส่วนอื่นๆ)


 
ชื่อไทย : ผักคราดหัวแหวน
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Spilanthes acmella (Linn.) Murr.

วงศ์ : COMPOSITAE
ชื่อท้องถิ่น : ผักคราด ผักตุ้มหู (ใต้) ผักเผ็ด (เหนือ) อึ้งฮวยเกี้ย (จีน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอกสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ดอกสดที่สมบูรณ์เต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ด
1. ยาพื้นบ้านใช้แก้อาการปวดฟัน ขับปัสสาวะ แก้บิด ระงับไอ
2. ในตำรายาไทยใช้ต้นสดตำผสมเหล้าหรือน้ำส้มสายชู อมแก้ฝีในลำคอ หรือต่อมน้ำลายอักเสบ ทำให้ลิ้นชา แก้ไข้

ารปลูก : ปลูกโดยใช้เมล็ดเพาะหรือใช้ลำต้นที่มีข้อ 2-3 ข้อ ฝังลงในดินให้ส่วนของข้ออยู่ใต้ดินและให้ส่วนยอดโผล่เหนือผิวดินผักคราดหัวแหวนสามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินเหนียวหรือดินร่วนสามารถขึ้นได้ทั่วๆไป ชอบที่มีความชื้นสูง
วิธีใช้
: ใช้ดอกสดปริมาณพอเหมาะตำกับเกลือ อมหรือกัดไว้บริเวณที่ปวด


 
ชื่อไทย : ฝรั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Psidium guajava Linn.

วงศ์ : MYRTACEAE
ชื่อท้องถิ่น : มะมั่น มะถ้วยกา(เหนือ) บักสีดา(อีสาน) ย่าหมู ยามู(ใต้) มะปุ่น(สุโขทัย,ตาก) มะแกว(แพร่) ชมพู(ปัตตานี)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบแก่สด หรือผลอ่อน
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ใบแก่ที่สมบูรณ์เต็มที่ หรือผลอ่อน
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน แก้ท้องเสีย ใบฝรั่งมีสรรพคุณระงับกลิ่นปาก โดยใช้ใบสด 2-3 ใบ เคี้ยวและคายทิ้งหลังรับประทานอาหารารปลูก : ใช้การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมคือ การตอนกิ่ง โดยหลังจากได้กิ่งตอนที่ออกรากแล้ว นำมาปลูกในหลุมกลบดินบริเวณโคนต้นให้มิดแน่นและเป็นโคกนูน ในช่วงแรกควรรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ฝรั่งชอบดินร่วนปนทราย ไม่ชอบน้ำขังแฉะ
วิธีใช้
: 1. ใช้ใบแก่ 10-15 ใบ ปิ้งไฟและชงน้ำรับประทานหรือใช้ผลอ่อน 1 ผล ฝนกับน้ำปูนใส รับประทานเมื่อมีอาการท้องเสีย
2. ใบสด 2-3 ใบเคี้ยวและคายทิ้งหลังรับประทานอาหาร จะช่วยระงับกลิ่นปาก


 
ชื่อไทย : เพกา
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Oroxylum indicum (Linn.) Kurg

วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่อท้องถิ่น : มะลิดไม้ มะลิ้นไม้(ภาคเหนือ) ลิ้นฟ้า(เลย)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บช่วงฝักแห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสฝาดเย็น ขมเล็กน้อย แก้อักเสบ บวม และแก้ไอ ขับเสมหะารปลูก : ต้องเพาะกล้าจากเมล็ดก่อน แล้วจึงย้ายไปปลูกในหลุมเพกาขึ้นได้ในดินทั่วไปแทบทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ปลูกในฤดูฝน ดูแลรักษาเหมือนพืชทั่วไป
วิธีใช้
: เมล็ดเพกาเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งใน "น้ำจับเลี้ยง" ของคนจีน ที่ใช้ดื่มแก้ร้อนในและเมล็ดใช้เป็นยาแก้ไอ ขับเสมหะโดยใช้เมล็ดครั้งละ 1/2-1 กำมือ(หนัก 1.5-3 กรัม) ใส่น้ำประมาณ 300 มิลลิลิตร ต้มไฟอ่อนๆ พอเดือดนานประมาณ 1 ชั่วโมง รับประทานวันละ 3 ครั้ง


 
ชื่อไทย : พญายอ
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Clinacanthus nutans (Burm.f) Lindau

วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ผักมันไก่ ผักลิ้นเขียด(เชียงใหม่) พญาปล้องดำ(ลำปาง) เสลดพังพอนตัวเมีย พญาป้องทอง (กลาง) ลิ้นมังกร โพะโซ่จาง (กะเหรี่ยง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บใบขนาดกลางที่สมบูรณ์ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสจืด ใบแก้อาการอักเสบเฉพาะที่ ปวดบวมแดง ร้อน แต่ไม่มีไข้ปวดแสบปวดร้อน จากแมลงมีพิษกัดต่อย เช่น ตะขาบ แมงป่อง ผึ้ง ต่อ แตน เป็นต้นารปลูก : ปลูกโดยใช้ลำต้น กิ่งที่ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไปตัดขนาด 1-2 คืบ ปักชำให้รากงอกจึงย้ายลงปลูกในบริเวณที่ต้องการต่อไป พญายอเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่ายและชอบแสงแดดปานกลาง
วิธีใช้
: ำใบสด 10-15 ใบ (มากน้อยตามบริเวณที่เกิดอาการอักเสบ) ล้างให้สะอาดใส่ลงในครกตำยา ตำให้ละเอียด เติมเหล้าขาว พอชุ่มยา ปิดฝาให้มิดชิด และตั้งทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ หมั่นคนยาทุกวันกรองน้ำยาใส่ภาชนะสะอาดๆ ใช้น้ำยาทาหรือใช้กากพอก(ถ้าเป็นมาก) บริเวณที่บวมหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งบริเวณที่เป็นโรคเริม หรือโรคงูสวัด ให้ทาซ้ำบ่อยๆ จนกว่าจะหาย
 
ชื่อไทย : พริกไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Piper nigrum Linn.

วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่อท้องถิ่น :ริกน้อย (ภาคเหนือ)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผลแก่จัดแต่ไม่สุก นำมาตากแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ผลแก่จัด
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ดร้อน เป็นยาขับลม แก้อาการท้องอืดเฟ้อ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ช่วยแต่งกลิ่นรสและถนอมอาหารารปลูก :ใช้การปกชำ โดยตัดส่วนของลำต้นที่ไม่แก่จัด ยาวพอประมาณให้มีข้ออยู่ 5-7 ข้อ ปักชำไว้จนออกรากแข็งแรง จึงนำไปปลูกและทำค้างให้เกาะ พริกไทยขึ้นไห้ในดินทั่วไป มีการระบายน้ำดี ชอบอากาศอบอุ่นและชื้น
วิธีใช้
: นำผลแก่แห้ง บดเป็นผงและปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 0.5-1 กรัม (ประมาณ 15-20 ผล) หรือใช้วิธีบดเป็นผงและชงรับประทานได้ช่วยขับลม แก้ท้องอืด (ข้อควรระวัง ! ม่ควรใช้กับหญิงมีครรภ์)
 
ชื่อไทย : ฟักทอง
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Cucurbita moschata Decne. C.pepo Linn.

วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อท้องถิ่น : น้ำเต้า(ภาคใต้) มะพักแก้ว (ภาคเหนือ) มะน้ำแก้ว(เลย) หมักอื้อ(เลย-ปราจีนบุรี) หมากอึ(ภาคอีสาน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เมล็ดฟักทองแก่
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ผลฟักทองแก่อายุ 3 เดือนขึ้นไป รับประทานเนื้อแล้วเก็บเมล็ดไว้ทำยา
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสมัน ไม่มีระบุในสรรพคุณยาไทย แต่ยาจีนใช้เป็นยาถ่ายพยาธิารปลูก :ใช้เมล็ดปลูก พรวนดินให้ร่วน และหยอดเมล็ดลงหลุมที่ลึกประมาณ 1 คืบ รดน้ำทุกวันจนกว่าจะงอก ฟักทองชอบดินร่วนเบา ไม่ชอบน้ำขัง
วิธีใช้
: ช้เมล็ดฟักทองถ่ายพยาธิลำไล้ เหมาะกับการถ่ายพยาธิตัวตืด โดยใช้เมล็ดฟักทองประมาณ 60 กรัม ทุบให้แตกผสมกับน้ำตาลและนม หรือน้ำ เติมลงไปจนได้ปริมาณ 500 มิลลิลิตร แบ่งรับประทาน 3 ครั้ง ห่างกันทุก 2 ชั่วโมง หลังจากให้ยาแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ให้รับประทานน้ำมันละหุ่งระบายตาม

ชื่อไทย
: ไพล
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Zingiber purpureum Rosc.

วงศ์ : ZINGIBRACEAE
ชื่อท้องถิ่น : ปูลอย ปูเลย(ภาคเหนือ) ว่านไฟ(ภาคกลาง) มิ้นสะล่าง(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา : เหง้าแก่จัด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บเหง้าแก่จัด หลังจากต้นไพลลงหัวแล้วเก็บเกี่ยวในช่วงที่ไพลอายุ 10 เดือนขึ้นไป ขุดด้วยความระมัดระวัง ล้างสะอาดและตากแดดให้แห้ง
รสและสรรพคุณยาไทย
: สรรพคุณแก้ฟกช้ำ บวม เคล็ดยอกขับลม ท้องเดินและช่วยขับระดูประจำเดือนสตรี นิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตรารปลูก :ใช้เหง้าใต้ดินปลูก โดยขุดเหง้าจากกอเดิม ตัดลำต้นทิ้งชำพันธุ์ไพลให้งอก แล้วนำไปวางให้ด้านที่แตกหน่อตั้งขึ้นกลบดินหนา 2-3 ซม. และดูแลความชุ่มชื้น ไพลชอบดินเหนียวปนทราย ระบายน้ำได้ดี แสงแดดพอสมควร ไม่ชอบน้ำขังและจะปลูกเป็นแปลงหรือเป็นกอก็ได้
วิธีใช้
: 1.ใช้เหง้าประมาณ 1 เหง้า ตำแล้วคั้นเอาน้ำทา ถูนวดบริเวณที่มีอาการ หรือตำให้ละเอียดผสมเกลือเล็กน้อยคลุกเคล้า แล้วนำมาห่อเป็นลูกประคบอังไอน้ำให้ความร้อนประคบบริเวณปวดเมื่อยและฟกช้ำ เช้าเย็น จนกว่าจะหาย
2.ทำเป็นน้ำมันไพลไว้ใช้ก็ได้ โดยเอาไพล หนัก 2 กิโลกรัม ทอดในน้ำมันพืชร้อนๆ 1 กิโลกรัม ทอดจนเหลืองแล้วเอาไพลออก ใส่กานพลูผงประมาณ 4 ช้อนชา ทอดต่อด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 10 นาที กรองแล้วรอจนน้ำมันอุ่นๆ ใส่การบูรลงไป 4 ช้อนชา ใส่ในภาชนะปิดฝามิดชิด รอจนน้ำมันเย็นจึงเขย่าการบูรให้ละลาย น้ำมันนี้ใช้ทาถูนวดวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเวลาปวด

ชื่อไทย
: พลู
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Piper betle Linn.

วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่อท้องถิ่น : เปล้าอ้วน ซีเก๊ะ(มลายู-นราธิวาส) พลูจีน(ภาคกลาง)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บใบสดที่เจริญเต็มที่
รสและสรรพคุณยาไทย
: รสเผ็ด เป็นยาฆ่าแมลง ขับลม แก้ลมพิษ รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทาปูนแดง รับประทานกับหมาการปลูก :ปลูกโดยการปักชำโดยตัดเถาพลูเป็นท่อนแต่ละท่อนให้มีข้อ 3-5 ข้อ ปักชำในถุงเพาะชำจนรากงอกดี จึงย้ายลงหลุมใช้ไม่แก่นฝังดินทำเป็นเสาให้เถาพลูเลื้อยเรียกว่า ค้างพลู รอบค้างสามารถปลูกพลูได้ 2-3 ต้น พลูชอบดินที่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีน้ำขัง
วิธีใช้
: 1.เป็นยารักษาอาการแพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อยได้ผลดีกับอาการแพ้ลักษณะลมพิษ โดยเอาใบ 1-2 ใบ ตำให้ละเอียดผสมกับเหล้าขาว ทาบริเวณที่เป็น ห้ามใช้กับแผลเปิดจะทำให้แสบมาก
2.ใช้รักษาโรคกลากเกลื้อน โดยนำใบพลูสดมาล้างให้สะอาด ตำละเอียดผสมแอลกอฮอล์ หรือเหล้าขาวคั้นน้ำทาบริเวณที่เป็นอย่างน้อย วันละ 4-5 ครั้งจนกว่าจะหาย
ชื่อไทย : มังคุด
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Garcinia mango-stana Linn.

วงศ์ : CLUSIACEAE
ชื่อท้องถิ่น : แมงคุด
ส่วนที่ใช้เป็นยา
:ปลือกผลแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ผลแก่ที่รับประทานเนื้อแล้วเก็บเปลือกตากแห้งไว้ทำยา
รสและสรรพคุณยาไทย
:สฝาด แก้ท้องเสีย บิด มูกเลือกในชนบทมักใช้น้ำต้มเปลือกมังคุดล้างแผล ช่วยให้แผลหายเร็วารปลูก :ใช้วิธีการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่ส่วนใหญ่นิยม ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ควรเริ่มตอนในช่วงต้นฤดูฝน และกิ่งตอนจะออกรากภายใน 1-1 เดือนครึ่ กล้าไม้มังคุดต้องมีอายุอย่างน้อย 3 ปี จึงจะปลูกลงหลุมได้มังคุดขึ้นได้กับทุกชนิด แต่ชอบดินเหนียวปนทราย
วิธีใช้
: มังคุดใช้เป็นยารักษาอาการท้องเสีย โดยใช้เปลือกผลแห้งประมาณครึ่งผล(4 กรัม) ย่างไฟให้เกรียม ฝนกับน้ำปูนใสประมาณครึ่งแก้ว หรือบดเป็นผงละลายน้ำข้าว(น้ำข้าวเช็ด) หรือน้ำสุกดื่มทุก 2 ชั่วโมง
ชื่อไทย : มะเกลือ
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Diospyros mollis Griff.

วงศ์ : EBENACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: มะเกือ มะเกีย(ภาคเหนือ) เกลือ(ภาคใต้) มักเกลือ(ตราด)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ผลดิบสด(ผลแก่ที่มีสีขาว ผลสุกสีเหลือง หรือผลดำห้ามใช้) ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : ผลดิบสดรสและสรรพคุณยาไทย : รสเบื่อเมา สรรพคุณถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือนตัวกลมารปลูก :ใช้วิธีการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง แต่ส่วนใหญ่นิยม ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง ควรเริ่มตอนในช่วงต้นฤดูฝน และกิ่งตอนจะออกรากภายใน 1-1 เดือนครึ่ กล้าไม้มังคุดต้องมีอายุอย่างน้อย 3 ปี จึงจะปลูกลงหลุมได้มังคุดขึ้นได้กับทุกชนิด แต่ชอบดินเหนียวปนทราย
วิธีใช้
: ชาวบ้านใช้ผลมะเกลือดิบและสดถ่ายพยาธิปากขอได้ผลดี และพยาธิเส้นด้าย(พยาธิเข็มหมุด) โดยใช้ผลสดสีเขียว ไม่ซ้ำ ไม่ดำจำนวนเท่าอายุของคนไข้(1 ปี ต่อ 1 ผล) นำมาโขลกพอแหลกแล้วผสมกะทิสด(2 ช้อนชาต่อมะเกลือ 1 ผล) คั้นเอาแต่น้ำดื่มให้หมดก่อนรับประทานอาหารเช้า ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่าย ให้ใช้ยาระบายเช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะละลายน้ำคนให้เข้ากันอย่าให้ยาตกตะกอน ดื่มตามลงไปข้อควรระวัง ! 1.เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงหลังคลอดบุตรใหม่ๆ ห้ามใช้ยานี้
                     2.ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารหรือมีอาการปวดท้อง ถ่ายอุจจาระผิดปกติบ่อยๆ หรือผู้ที่มีอาการไข้ ห้ามใช้ยานี้
                     3.บางคนอาจแพ้ยานี้ ทำให้เกิดอาการท้องเดินบ่อยครั้ง แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ อาเจียน ตามัว ถ้ารุนแรงอาจถึงตาบอดได้(แต่พบค่อนข้างน้อย) ถ้าเกิดอาการดังกล่าวให้พาไปพบแพทย์โดยด่วน
ชื่อไทย : มะพร้าว
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Cocos nucifera Linn.

วงศ์ : ARECACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: ดุง(จันทบุรี) โพล(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) คอส่า(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) หมากอุ่น หมากอูน(ทั่วไป)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: น้ำมันมะพร้าวช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา : เก็บในช่วงผลแก่ และนำมาเคี่ยวเป็นน้ำมันรสและสรรพคุณยาไทย : รสมัน ทาแก้ปวดเมื่อยและขัดตามเส้นเอ็น เจือกับยาที่มีรสฝาด รักษาบาดแผลารปลูก :ใช้ผลแก่เพาะจนต้นอ่อนสูงประมาณครึ่ง-หนึ่งเมตร จึงนำลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หมั่นกำจัดวัชพืช และดูแลบำรุงปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
วิธีใช้
: ำได้โดยการนำเอาน้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ใส่ในภาชนะคนพร้อมๆกับเติมน้ำปูนใส 1 ส่วน โดยเติมทีละน้อยพร้อมกับคนไปด้วย จนเข้ากันดีแล้วใช้ทาที่แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก บ่อยๆ

ชื่อไทย : มะแว้งเครือ
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Solanum trilobatum. Linn.

วงศ์ : SOLANACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: มะแว้งเถา (กรุงเทพ) แขว้งเคีย (ตาก)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
:
ผลแก่จัด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ผลแก่จัดที่ยังไม่สุกแดงรสและสรรพคุณยาไทย : รสขม เป็นยากัดเสมหะ
ารปลูก :ใช้เมล็ดปลูก โดยเมล็ดพันธุ์ควรเป็นเมล็ดสดจากลูกมะแว้งเครือสีแดงที่แก่จัด มะแว้งเครือขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด ควรปลูกฤดูฝน วิธีปลูกทำได้โดยหยอดเมล็ดลงดินลึก 2-3 ซม. กลบดินให้เรียบร้อย รดน้ำให้ชุ่ม ควรดูแลกำจัดวัชพืช และให้ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอและมีค้างให้เลื้อย
วิธีใช้
: ใช้รักษาอาการไอและขับเสมหะ นำเอาผลแก่สด 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่น้ำ ใส่เกลือ รับประทานบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี่ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อจนกว่าอาการจะดีขึ้น

ชื่อไทย : มะขาม
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Tamarindus indica Linn.

วงศ์ : FABACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: มะขามไทย (กลาง) ขาม (ใต้) ตะลูบ(นครศรีธรรมราช) ม่วงโคล้ง(กระเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล(เขมร-สุรินทร์)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: เนื้อฝักแก่ เนื้อเมล็ดมะขามแก่
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลรสและสรรพคุณยาไทย : เนื้อฝักแก่ รสเปรี้ยวเป็นยาระบายขับเสมหะ เนื้อเมล็ดมะขามรสมัน ใช้ขับพยาธิารปลูก :นิยมใช้กิ่งที่ได้จากการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและเหมือนพันธุ์เดิม มะขามขึ้นได้ในดินทุกชนิด เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน
วิธีใช้
: 1.มะขามเป็นยารักษาอาการท้องผูก โดยใช้ประมาณเปียกรสเปรี้ยว 10-20 ฝัก (หนัก 70-150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือดื่มน้ำคั่นใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม
2.เมื่อมีอาการไอ ระคายคอจากเสมหะ ให้ใช้เนื้อในฝักแก่ของมะขามเปรี้ยวหรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร หรือคั้นเป็นน้ำมะขามเติมเกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ(ห้ามใส่น้ำแข็ง)
ชื่อไทย : มะขามป้อม
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Phyllanthus emblica Linn.

วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: สันยาส่า มั่งลู่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) กำทวด(ราชบุรี) กันโตด(เขมร-จันทบุรี)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ผลสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ผลแก่สดรสและสรรพคุณยาไทย : ผลสดมีรสเปรี้ยวอมฝาดเป็นยาบำรุง ทำให้สดชื่น แก้กระหายน้ำ แก้ไอ แก้หวัด กระตุ้นน้ำลาย ละลายเสมหะ ช่วยระบาย ขับปัสสาวะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้คอแห้งารปลูก : ใช้การเพาะเมล็ด ทาบกิ่ง หรือตอนกิ่งให้มีรากงอกจึงนำลงหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้แน่นรดน้ำให้ชุ่มชื้น ทุกวันจนกว่ากล้าจะตั้งตัวได้
วิธีใช้
: มะขามป้อมใช้รักษาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ โดยใช้เนื้อผลแก่สดครั้งละประมาณ 2-3 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อมหรือ เคี้ยวรับประทาน วันละ 3-4 ครั้ง
ชื่อไทย : มะหาด
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Artocarpus lakoocha Roxb.

วงศ์ : MORACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: หาด(กลาง) หาดใบใหญ่ (ตรัง) หาดหนุน(เหนือ) ขนุนป่า กาแย ตาแป ตาแปง(มาเลย์ นราธิวาส)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: แก่นต้นมะหาด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ตัดต้นหรือกิ่งมะหาดที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไปรสและสรรพคุณยาไทย : ปวกหาดใช้เป็นยาขับพยาธิตัวตืด จะละลายน้ำทาแก้ผื่นคันารปลูก :
นิยมปลูกโดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด วิธีปลูกโดยการเพาะกล้าก่อนแล้วจึงปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองก้นหลุมระยะแรกดูแลให้น้ำและกำจัดวัชพืชด้วยมะหาดที่เจริญเติบโตดีจะให้ผลเมื่ออายุ 5 ปี
วิธีใช้
: ผงปวกหาดเตรียมได้โดยการเอาแก่นมะหาดมาต้มเคี่ยวด้วยน้ำ จนมีฟองขึ้น ใช้ผ้าขาวบางกรองบีบเอากาก และนำมาตากแห้ง จะได้ผงสีเหลือง วิธีใช้นำผงปวกหาดมาบดให้ละเอียด รับประทานกับน้ำสุกเย็น(ห้ามใช้น้ำร้อน) ครั้งละ 1-2 ช้อนชา (ประมาณ 3-5 กรัม) ก่อนอาหารเช้าหลังจากรับประทานผงปวกหาดแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง ให้รับประทานดีเกลือหรือ ยาถ่ายตาม ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืดและพยาธิไส้เดือน
 
ชื่อไทย : มะนาว
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Citrus aurantifolia (Christm. Panz) Swing.
วงศ์ : RUTACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: สัมมะนาว มะลิว(เชียงใหม่)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: เปลือกและน้ำของลูกมะนาว
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: ช่วงผลสุกรสและสรรพคุณยาไทย : เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยวจัดเป็นยาขับเสมหะ เมื่อก่อนตามชนบทเมื่อเด็กหกล้มหัวโนจะใช้น้ำมะนาวผสมกับดินสอพองพอกบริเวณที่หัวโนจะทำให้เย็นและยุบเร็วารปลูก : นิยมปลูกโดยใช้กิ่งตอน มะนาวขึ้นได้ในดินทุกชนิดโดยเฉพาะดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ควรปลูกในฤดูฝน
วิธีใช้
: 1. น้ำมะนาวรักษาอาการไอ และขับเสมหะ ให้ผลสดคั้นน้ำจะได้น้ำมะนาวเข้มข้น และใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ หรือจะทำให้เป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงให้รสจัดสักหน่อย ดื่มบ่อยๆ ก็ได้
2. นำเอาเปลือกของผลสดประมาณครึ่งผลหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ชงน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด

 
ชื่อไทย : ตะไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Cymbopogon citratus (DC.) Stapt

วงศ์ : POACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: จะไคร้(เหนือ) ไคร(ใต้) คาหอม(เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรบ เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์) ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หัวสิงไค(เขมร-ปราจีนบุรี)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ลำต้นและเหง้าแก่สดหรือแห้ง
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บเหง้าและลำต้นแก่รสและสรรพคุณยาไทย :
รสปร่ากลิ่นหอม บำรุงไฟธาตุแก้โรคทางเดินปัสสาวะขับลมในลำไส้ เจริญอาหาร แก้คาว
ารปลูก : ใช้เหง้าปลูก โดยเอาลำต้นหรือเหง้าปักชำ โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนยาวพอสมควร ปักเอียงลงดิน ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย ไม่ชอบน้ำขังและปลูกได้ตลอดปี
วิธีใช้
: 1. ตะไคร้เป็นยารักษาอาการขัดเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัดไม่คล่อง(แต่ต้องไม่มีอาการบวม) ให้ใช้ต้นแก่สดหั่นซอยเป็นแว่นบางๆวันละ 1 กำมือ(สดหนัก 40-60 กรัม หรือแห้งหนัก 20-30 กรัม) ต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชา(75 ซีซี) ก่อนอาหารหรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดิน ฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลือง ชงเป็นยา ดื่มวันละ 3 ครั้ง ๆ ละ 1 ถ้วยชา พอปัสสาวะสะดวกแล้วจึงหยุดยา
2. อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดๆ ทุบพอแตก ประมาณ 1 กำมือ หรือ 40-60 กรัม ต้มกับน้ำประมาณครึ่งลิตร(500 ซีซี) เอาน้ำดื่มหรือประกอบอาหาร
ชื่อไทย : น้อยหน่า
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Annona squamosa Linn.

วงศ์ : ANNONACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: น้อยแน่(ภาคใต้), มะนอแน่ มะแน่(ภาคเหนือ), มะออจ้า มะโอจ่า(เงี้ยว-ภาคเหนือ), ลาหนัง(ปัตตานี), หน่อเกล๊าะแช(เงี้ยง-แม่ฮ่องสอน), หมักเขียบ(ภาคอีสาน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ใบสดและเมล็ด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: -
รสและสรรพคุณยาไทย :
ใบและเมล็ดแก้กลากเกลื้อนและฆ่าเหาชาวชนบทเอาลูกตาย(ผลดิบแห้งตายคาต้น) มาฝนกับเหล้าทารักษาแผล
ารปลูก : ใช้วิธีหยอดเมล็ดในถุงพลาสติกก่อน เมื่อต้นงอกแล้วจึงย้ายไปปลูกในหลุม น้อยหน่าชอบดินร่วนปนทรายที่สามารถระบายน้ำได้ดี ในระยะแรกควรจะทำร่มเงาให้ด้วย เมื่อย่างเข้าปีที่ 3 จะเริ่มออกลูกต้องคอยดูแลรักษาใส่ปุ๋ยและกำจัดศัตรูพืชด้วย
วิธีใช้
: ใบสดและเมล็ดน้อยหน่าใช้ฆ่าเหา โดยนำเอาเมล็ดน้อยหน่าประมาณ 10 เมล็ด หรือ ใบสดประมาณ 1 กำมือ (15 กรัม) ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมันมะพร้าว 1-2 ช้อนโต๊ะ ขยี้ให้ทั่วศีรษะแล้วใช้ผ้าคลุมโพกไว้ ประมาณครึ่งชั่วโมง และสระผมให้สะอาด (ระวังอย่าให้เข้าตาจะทำให้แสบตา ตาอักเสบได้)
ชื่อไทย : บัวบก
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Centella asiatica (Linn.) Urban
วงศ์ : APIACEAE
ชื่อท้องถิ่น
:
ผักหนอก(ภาคเหนือ) ฝักแว่น (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ต้นและใบสด
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บต้นและใบสดที่สมบูรณ์เต็มที่รสและสรรพคุณยาไทย :
กลิ่นหอม รสขมเล็กน้อย แก้อ่อนเพลียเมื่อยล้า สมานแผล ลดการอักเสบจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
ารปลูก : ใช้เมล็ดและไหลปักชำ ส่วนใหญ่นิยมใช้ไหลปักชำ โดยนำลำต้นหรือไหลที่มีรากงอก ออกมา ตัดแยกเป็นท่อน และชำในที่ชื้นแฉะและมีแสงแดด
วิธีใช้
: บัวบกใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดยเอาบัวบกทั้งต้นสด 1 กำมือ ล้างให้สะอาดและตำให้ละเอียด คั้นน้ำ และเอาน้ำทาชะโลมบริเวณที่เป็นแผลให้ชุ่มอยู่เสมอในชั่วโมงแรก (ใช้กากพอกด้วยก็ได้) ต่อจากนั้น ทาวันละ 3-4 ครั้ง จนหาย

 
ชื่อไทย : ฟ้าทะลายโจร
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Andrographis paniculata (Burm. f.) Nees
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่อท้องถิ่น
: ฟ้าทะลายโจร น้ำลายพังพอน (กรุงเทพฯ) หญ้ากันงู (สงขลา) ฟ้าสะท้าน(พัทลุง) คีปังฮี(จีน)
ส่วนที่ใช้เป็นยา
: ใบและลำต้น
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา
: เก็บใบและลำต้น (เหนือดิน) ในช่วงที่เริ่มมีดอก(ประมาณ 3 เดือน หลังปลูก) ล้างให้สะอาดและเก็บในที่แห้ง และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 ปี เพราะสารสำคัญจะสลายไปหมดรสและสรรพคุณยาไทย :
รสขม เย็น แก้ไข้ และอาการเจ็บคอ
ารปลูก : ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่ปลูกง่ายโดยใช้เมล็ดโรยลงดิน ไม่ต้องลึกนักและใช้ดินกลบ รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 3-4 เดือนจะสามารถเก็บใบมาใช้ได้ ฟ้าทะลายโจรปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด เหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน
วิธีใช้
:
ใบฟ้าทะลายโจรใช้รักษาอาการไข้ และอาการท้องเสีย มีวิธีใช้ดังนี้
             1. ยาลูกกลอน นำใบฟ้าทะลายโจรสดล้างให้สะอาด ผึ่งลมให้แห้ง (ห้ามตากแดด) บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นยาลูกกลอน ผึ่งลมให้แห้ง เก็บไว้ในขวดแห้งและมิดชิด รับประทานครั้งละ 1 กรัม วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน
             2.ยาดองเหล้า นำใบฟ้าทะลายโจรแห้งขยำให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ในขวดแก้ว ใช้เหล้าโรงแช่ให้น้ำท่วมยาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดหรือคนยาวันละ 1 ครั้ง ครบ 7 วัน กรองเอาแต่น้ำเก็บไว้ในขวดที่มิดชิดและสะอาด รับประทานครั้งละ 1- 2 ช้อนโต๊ะ(รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร)
             3.ยาต้ม ใช้ใบฟ้าทะลายโจรสด 1-3 กำมือ ต้มกับน้ำ 10-15 นาที ดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง หรือเวลามีอาการ(แก้อาการเจ็บคอ ใช้เพียง 1 กำมือ)
ฟ้าทะลายโจรรักษาฝีแผลพุพอง เตรียมโดยใช้ใบฟ้าทะลายโจรตำพอกหรือคั้นน้ำ ทาบริเวณฝีแผลผุพองข้อควรระวัง : 1.บางคนรับประทานยาฟ้าทะลายโจรจะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ปวดเอว เวียนหัว แสดงว่าแพ้ยาให้หยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาอื่น
2.ไม่ควรรับประทานยาฟ้าทะลายโจรติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นยาเย็นรับประทานติดต่อกันจะทำให้มือ เท้าชา อ่อนแรงได้
3.การเตรียมยาฟ้าทะลายโจรในรูปแบบยาลูกกลอนและยาดองไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 3 เดือนเพราะยาจะเสื่อมคุณภาพ
น้ำสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ
ชื่อไทย : น้ำเชอร์รี่
ส่วนผสม :
-เชอร์รี่ 100 กรัม ( 7 ช้อนคาว )
-น้ำเชื่อม 30 กรัม ( 2 ช้อนคาว )
-น้ำเปล่าต้มสุก 200 กรัม ( 14 ช้อนคาว )
-เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม ( 1/5 ช้อนชา )

วิธีทำ
:
เลือกเชอร์รี่เด็ดก้านล้างให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำต้มครึ่งหนึ่ง ปั่นให้ละเอียด นำไปกรองเอาแต่น้ำ นำน้ำเปล่าต้มสุกส่วนที่เหลือใส่วงไปคั้นกับกากเชอร์รี่ให้แห้งมากที่สุด นำน้ำเชอร์รี่ที่คั้นได้ ใส่น้ำเชื่อมเติมเกลือ ชิมรสตามชอบ
ประโยชน์ : คุณค่าทางอาหาร:: มีวิตามินซีสูงมาก ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
คุณค่าทางยา:: ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง
น้ำสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ
ชื่อไทย : น้ำใบบัวบก
ส่วนผสม:::
-ใบบัวบก 10 กรัม (หั่น 5 ช้อนคาว )
-น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 2 ช้อนคาว )
-น้ำเปล่าต้มสุก 240 กรัม ( 16 ช้อน )
วิธีทำ:::
นำใบบัวบกล้างให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่น ใส่น้ำครึ่งส่วน ปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำ ใส่น้ำที่เหลือ คั้นน้ำให้แห้ง นำน้ำที่ใด้ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ:::
:: คุณค่าทางอาหาร มีวิตามินเอสูงมาก ช่วยบำรุงสายตาและมีสารแคลเซี่ยม
มากเช่นกัน นอกจากนั้นยังมีวิตามินบี 1 สูงกว่าผักหลายๆชนิด
:: คุณค่าทางยา แก้ช้ำใน ทำให้หายฟกช้ำใด้ดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ลดอาการปวดศรีษะข้างเดียว บำรุงสมองบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้าใด้ดี แก้ความดันโลหิตสูง ถ้าดื่มทุกวันเพียง 1 สัปดาห์ ความดันโลหิตที่สูงจะลดลง นอกจากนั้นยังมีฤทธิ์ทำลายเซลมะเร็ง ลดการอักเสบและรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำใส้ ช่วยการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดแข็งตัวเร็ว ช่วยขับปัสสาวะ
น้ำสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ
ชื่อไทย : น้ำมะเฟือง
ส่วนผสม:::
- มะเฟืองหั่น 40 กรัม (1ผลเล็ก)
- น้ำเชื่อม 30 กรัม (2ช้อนคาว )
- เกลือป่นเสริมไอโอดีน 1 กรัม (1/5ช้อนชา )
- น้ำต้มสุก 200 กรัม (14ช้อนคาว )
วิธีทำ:::
:: ล้างมะเฟืองที่แก่จัดให้สะอาด หั่น แกะเมล็ดออก แล้วนำใส่เครื่องปั่น เติมน้ำสุกปั่นจนละเอียดแล้วเติมน้ำเชื่อม เกลือ ชิมรสตามใจชอบ ถ้าต้องการเก็บไว้ดื่ม ให้ตั้งไฟให้เดือด 3-5 นาที กรอกใส่ขวด นึ่ง 20-30 นาที เย็นแล้วนำเข้าตู้เย็น
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ:::
:: คุณค่าทางอาหาร:: น้ำมะเฟืองมีสีเหลืองอ่อนๆมีกลิ่นหอม ประกอบด้วยคุณค่าทางอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี ฟอสฟอรัสและแคลเซียมเล็กน้อย
:: คุณค่าทางยา:: เป็นยาขับเสมหะ ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับปัสสาวะรวมทั้งป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
น้ำสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ
ชื่อไทย : น้ำขิง
ส่วนผสม:::
- ขิงสด 15 กรัม (ขนาด 1"x1.5" 5 ชิ้น )
- น้ำเชื่อม 15 กรัม ( 1 ช้อนคาว )
- น้ำเปล่า 240 กรัม ( 16 ช้อนคาว )

วิธีทำ:::
:: นำขิงมาปอกเปลือกล้างให้สะอาด หั่นเป็นแว่นใส่หม้อใส่น้ำ ตั้งไฟต้ม จนเดือดสักครู่ยกลง กรองเอาขิงออก ใส่น้ำเชื่อม ชิมรสตามชอบ หรืออีกวิธีหนึ่ง ใช้เหง้าขิงแก่ฝนกับน้ำมะนาว ใช้กวาดคอ หรือใช้เหง้าขิงสด ตำผสมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาน้ำและใส่เกลือนิดหน่อยใช้จิบบ่อยๆ

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ:::
คุณค่าทางอาหาร:: พรั่งพร้อมด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แคลเซียมบำรุงกระดูกและฟัน และยังมีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งช่วยต้านโรคมะเร็งอีกด้วยคุณค่าทางยา:: แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม และขับเสมหะแก้อาการคลื่นใส้ อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยเจริญอาหาร กินข้าวได้ นอกจากนั้นยังลดการจับตัวของลิ่มเลือด ช่วยย่อยอาหารโดยเพิ่มการหลั่งน้ำดี
และน้ำย่อยต่างๆต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
top
 
สัญญาณที่ฟ้องว่าคุณทานอาหารไม่เหมาะสม (Brands E-newsletter)

1. ผิวหนังมีปัญหา เช่น อาการคัน หรือผิวหนังลอกเป็นขุยตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ใช่ในช่วงฤดูหนาว อาการเช่นนี้ อาจเป็นลักษณะของการขาดวิตามิน A และ E ซึ่งในผักและผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้มหรือสีเขียวเข้มล้วนแต่อุดมไปด้วยวิตามิน A และ E มากเพียงพอที่จะทำให้ผิวคุณเป็นปกติ

2. ท้องผูก เป็นอาการที่กำลังบอกคุณว่าคุณ
ต้องการอาหารพวกไฟเบอร์หรืออาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ อย่างน้อยวันละ 25 กรัมและดื่มน้ำให้มากขึ้นด้วย
top
 
สัญญาณที่ฟ้องว่าคุณทานอาหารไม่เหมาะสม (Brands E-newsletter)

1. ปวดเหงือก หรืออาการเจ็บปวดจากการอักเสบ ความเจ็บปวดและปัญหาของเหงือกแสดงให้เห็นว่าปากของคุณกำลัง ต้องการแบคทีเรียที่มีประโยชน์ ให้มาช่วยจัดการกับแบคทีเรียร้ายในปากที่มีอันตราย โดยให้กินโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่ประกอบด้วยแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเราเป็นอาหารว่างในช่วงเช้าของทุกวัน
2. สเปิร์มน้อยลงไปมาก ถ้าคุณกำลังพยายามที่จะมีลูกและมีปัญหาระดับของสเปิร์มต่ำกว่าปกติอาจเป็นไปได้ว่า คุณขาดวิตามิน
C
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและยังมีการศึกษาพบว่าวิตามิน C มีส่วนช่วยในการรักษาปริมาณและความสมบูรณ์ของสเปิร์มด้วย แนะนำให้ดื่มน้ำส้มอย่างน้อยวันละประมาณ 1 ลิตรทุกวัน
top
 
สัญญาณที่ฟ้องว่าคุณทานอาหารไม่เหมาะสม (Brands E-newsletter)

1. เส้นผมไม่เงางาม ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เส้นผมของคุณอาจจะไม่สามารถจัดทรงได้เลย เป็นผลมาจาก การขาดโปรตีนและธาตุเหล็ก คุณควรทานอาหารที่มีกากใยควบคู่ไปกับการออกกำลังกาย ส่วนคนที่ทานมังสวิรัต คุณควรได้รับสารอาหารจำพวก ผัก ผลไม้ ข้าว และถั่ว ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้รับโปรตีนจากพืชทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ขาดไป และเพิ่มเติมด้วยกระหล่ำดอกและผลไม้เปลือกแข็ง เช่นเกาลัด ถั่วแขก และถั่วเหลือง ซึ่งอุดมไปด้วยไบโอติน
2. ขี้ลืม อาจเป็นได้ว่าคุณ ขาดวิตามิน
B
ในการศึกษาที่ USDA Human Nutrition Research Center in Boston นักวิจัยพบว่าผู้ชายที่มีระดับของวิตามิน B6 B12 และB folate สูงในเลือดจะมีความทรงจำที่ดีกว่าจากการทดสอบพบว่าสารอาหารพวกนี้ช่วยให้สมองทำงานได้เต็มที่ ถั่วเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน B6 และโฟเลตมากที่สุด และไม่ต้องกังวลกับการขาดวิตามิน B12 เพรามีมากในเนื้อสัตว์และอาหารทะเล
 

top
 
อาหารผ่อนคลายความเครียด

1. “ข้าวกล้อง” ข้าวกล้องจะช่วยเร่งอัตราการขนส่งกรดอะมิโน- ทริปโทเฟนไปสู่สมองค่ะ กรดอะมิโนทริปโทเฟน นี้จะช่วยเพิ่มระดับของสารเคมีชนิดหนึ่งในสมองที่เรียกว่าซีโรโทนิน ที่เชื่อกันว่าจะออกฤทธิ์คลายประสาทได้ค่ะและยังมีไทอามีน(วิตามินบี 1) ซึ่งนักวิจัยบางท่านเชื่อว่า การขาดไทอามีนมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการทางจิต รวมทั้งโรคซึมเศร้าด้วยค่ะ ไทอามีนมีมากในเนื้อหมู ปลา ถั่ว เมล็ดทานตะวัน และธัญพืชต่างๆ โดยข้าวกล้องจะมีปริมาณไทอามีนสูงกว่าข้าวขัดขาวถึง 3 เท่าทีเดียวละค่ะ
2. "ส้ม" เป็นอาหารอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยระบบประสาท เนื่องจากส้ม จะมีปริมาณโปตัสเซียมสูง ซึ่งโปตัสเซียมจะทำหน้าที่นำสัญญาณประสาท และช่วยในการส่งกระแสประสาทในสมอง ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ แหล่งโปตัสเซียมอื่นๆได้แก่ สัตว์ปีก และนม ค่ะ

top
 
กล้วยหอมยอดผลไม้มหัศจรรย์

กล้วยหอม มีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิดคือ ซุคโคส ฟรุคโตส และกลูโคส (sucrose, fructose and glucose) รวมทั้งเส้นใยอาหารมันจะให้พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ทันทีค่ะ ผลของการวิจัย กล้วยหอม 2 ใบให้พลังงานเพียงพอให้เราทำงานถึง 90 นาที  กล้วยหอมยังมีคุณอนันต์ ป้องกันโรคภัยและภาวะต่างๆ ของร่างกายได้อีกด้วย...มาดูกันค่ะ1. “ความเศร้าซึม” ลการสำรวจและวิจัยจากการสุ่ม คนไข้ที่ป่วยเป็นโรคเศร้าซึม พบว่าส่วนใหญ่จะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้กินกล้วยหอม เพราะว่ามันมี tryptophan ซึ่งเป็นกรดอะมิโนโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งร่างกายสามารถแปลงเป็น serotonin สารกระตุ้นที่ทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุขมากยิ่งขึ้น
2. "pms (premenstrual syndrome)" สำหรับสุภาพสตรีแล้วก่อนที่จะเป็นประจำเดือน อารมณ์จะหงุดหงิดง่าย ไม่อยู่กับร่องรอยและก่อให้เกิดสภาวะต่อร่างกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว ฯลฯ กล้วยหอมสามารถป้องกันได้ค่ะ3. "อ้วนจากทำงานมากเกินไป" สถาบันจิตวิทยาในออสเตรียได้ศึกษาและพบว่า ความเครียดจากที่ทำงานทำให้คนกินช็อกโกแล็ตและพวกโปเต้โต้ชิปส์มากเกินไป ทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ถ้ากินกล้วยหอมสักเล็กๆน้อยๆประมาณ ทุกๆ 2 ชม. มันจะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดและลดการอยากกินของจุกจิก

top
 

4. “
แผลในลำไส้และกระเพาะอาหาร รวมทั้งผิวหนังพุพองเป็นแผล กล้วยหอมอุดมไปด้วยเส้นใย ดังนั้นจึงช่วยเสริมให้การย่อยอาหารของลำไส้เล็กดีขึ้น ในเวลาเดียวกันสารต่างๆ ที่มีอยู่ในกล้วยหอมยังจะช่วยเคลือบผิวของกระเพาะ จึงลดการเป็นแผลในกระเพาะได้อีกด้วย
5. "โรคโลหิตจาง (Anemia)" ธาตุเหล็กในกล้วยหอมสามารถที่จะกระตุ้นร่างกายให้ผลิต Hemoglobin (ฮีโมโกลบิน)
ในกระแสโลหิตช่วยหยุดยั้งภาวะโลหิตจางได้

6. "
ความดันโลหิต (Blood Pressure)" กล้วยหอมมีเกลือโปแตสเซียมเหลืองอยู่เยอะ เป็นตัวช่วยความดันเลือดจนจนกระทั่ง US Food and  Drug Administration อนุมัติให้กล้วยหอมยอดผลไม้มีส่วนช่วยลดภาวะความเสี่ยงความดันได้จริง7. "เสริมสร้างพลังสมอง (Brain Power)" ที่อังกฤษในแค้วน Middlesex มีนักเรียนจำนวน 200 คนจาก Twickenham School อ้างว่าพวกเขาสอบผ่านเพราะได้กิตกล้วยหอมเป็นอาหารเช้า รวมทั้งกินอีกนิดหน่อยในตอนมื้อเที่ยงเพื่อทำให้สมองสดชื่น เขาได้วิจัยพบว่าโปแตสเซียมในกล้วยช่วยนักเรียนให้ตื่นตัวอยู่เสมอ

top
 
8. “ลดความอยากสูบบุหรี่สำหรับท่านที่ต้องการเลิกบุหรี่ กล้วยหอมอาจช่วยท่านได้เพราะมีวิตามิน B6, B12 โปแตสเซียมและแม็กนีเซียม ที่มีอยู่มากจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วจากการขาดสารนิโคติน
9. "
เมาค้าง (Hangovers)" วิธีแก้เมาค้างที่เร็วและดีอีกวิธีหนึ่งก็คือ กินกล้วยหอมปั่น banana milkshake โดยการใส่น้ำผึ้งลงไปด้วย ด้วยสรรพคุณของน้ำผึ้งและสารวิตามินในกล้วย จะช่วยให้ปรับระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และทำให้กระเพาะอาหารอยู่ในสภาวะ ที่พร้อมทำงานได้เร็วขึ้น
10. "
จุกเสียดแน่นท้อง (Heartburn)" กล้วยหอมมีสารลดกรดตามธรรมชาติอยู่ ดังนั้น การกินกล้วยก็จะช่วยให้ลดอาการดังกล่าว
11
. "อาการท้องผูก (Constipation)" เส้นใยอาหารในกล้วยหอมช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดี
12. "
บรรเทาแผลยุงกัด" ก่อนที่จะใช้ยาทา ลองใช้เปลือกกล้วยหอมด้านในถูบริเวณที่ถูกยุงกัด13. "ระบบประสาท (Nerves)" เส้นใยอาหารในกล้วยหอมช่วยทำให้ระบบขับถ่ายในร่างกายทำงานได้ดี14. "ปรับระดับอุณหภูมิในร่างกาย (Temperature Control)" ในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีอากาศร้อน ผู้คนชอบกินกล้วยหอมดับร้อนกันครับและเชื่อว่ามันเป็นผลไม้เย็นฉ่ำชนิดหนึ่งอย่างเช่น ในไทยมีความเชื่อกันว่าผู้หญิงท้องควรกินกล้วยหอมเป็นประจำ เพื่อเด็กที่เกิดมาจะมีอารมณ์เยือกเย็น
15. "Morning Sickness" อาการไม่อยากจะตื่นตอนเช้า ถ้าเรากินกล้วยหอมสักคำ 2 คำระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น
มันจะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด และแก้อาการดังกล่าวในตอนเช้าได้
ชื่อไทย : ะละกอ
ชื่อวิทยาศาสตร์
:
Carica papaya Linn.
วงศ์ : Caricaceae
ส่วนที่ใช้เป็นยา : 1.ผลส
2.ยางจากผลดิบ
สรรพคุณยาไทย
: 1.ผลสุก ใช้เนื้อเป็นยาระบาย bulk laxative
2.เอมไซม์ papain จากยางมะละกอ ช่วยย่อยโปรตีน
วิธีใช้ : 1.รับประทานผลสุก เป็นยาระบาย
2.นำยางจากผลดิบมาหมักกับเนื้อ ทำให้เนื้อนุ่ม